เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ
1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle)
ที่มา:
http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/721-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD+(Muscular+system)?groupid=181
กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับกระดูกหรือโครงกระดูก
ประกอบขึ้นเป็นอวัยวะต่าง ๆ เช่น แขน, ขา และทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรงซึ่งทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย,
มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส นอกจากนี้การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก
กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้มเนื้อที่มีลักษณะเรียบไม่มีลายพาด ประกอบขึ้นเป็นอวัยวะภายในของร่างกาย
เช่น กล้ามเนื้อที่หลอดลมปอด กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น โดยกล้ามเนื้อเรียบทำงานนอกอำนาจจิตใจ
กล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ และคุณสมบัติทางสรีรวิทยาแตกต่างกันเองมาก
ไม่เป็นรูปแบบเดียวกันดังเช่นกล้ามเนื้อลาย ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะอธิบายสรีรวิทยาของกล้ามเนื้อเรียบแบบเดียวที่จะถือเป็นตัวแทนของกล้ามเนื้อเรียบทั้งหมด
กล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะทั่วไปทางสรีรวิทยาที่เหมือนกัน
3 ประการ คือ
(1) สามารถหดตัวได้นาน และใช้พลังงานน้อย
(2) มีประสาทยนต์ (motor
nerve) ที่มาเลี้ยงจากระบบประสาทอัตบาล (autonomic nervous system)
(3) มีความตึงตัวภายในกล้ามเนื้อ
ที่มา: http://www.slideshare.net/1choose1/structure-of-cardiac-muscle-excitation-contraction-coupling-properties-of-cardiac-muscle
กล้ามเนื้อหัวใจมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกมีลายชัดเจนคล้ายกับกล้ามเนื้อลาย แต่มีขนาดสั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อลายและตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนงเพื่อเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง กล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจคล้ายกับกล้ามเนื้อเรียบ แต่มีลักษณะพิเศษคือสามารถทำงานได้เอง (automaticity) และทำเป็นจังหวะสม่ำเสมอได้ (rhythmicity)
No comments:
Post a Comment