Monday, June 9, 2014

เเหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/721-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD+(Muscular+system)?groupid=181

http://muscularsystemmwits42.blogspot.com/2012/06/test.html


ชื่อและตำแหน่งของกล้ามเนื้อในร่างกาย


ที่มา: http://www.myweightlifting.com/muscle-anatomy/

การรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง (Keeping the Muscular System Healthy)

     วิธีการรักษาระบบกล้ามเนื้อให้เเข็งเเรง มีคร่าวๆ ดั่งต่อไปนี้:

  1. ออกกำลังกาย (Exercise) การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobics Exercise) จะช่วยทำให้หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้นโดยการเดิน, ขี่จักรยาน, ว่ายน้ำ, วิ่ง และแม้กระทั่งการเดินขึ้นบันได การออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้นนั้นเรียกว่า การออกกำลังกายแบบ แอนแอโรบิค (Anaerobics Exercise) ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อ ทำได้โดยการยกน้ำหนักหรือการวิ่งระยะสั้น เมื่อนำไปรวมกับการออกกำลังกายแบบอื่นแล้วก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นเช่นกัน

  2. โภชนาการที่เหมาะสม (Proper Nutrition) รับประทานผัก, ธัญพืชและผลไม้ รวมถึงการดื่มน้ำ 8-10 แก้วต่อวัน นอกจากนี้ยังรวมถึงการลดความเครียดเช่นกัน

กระบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อ

1. Myosin head จับกับ ATP อยู่ในรูป Low energy จึง Hydrolyze ATP ให้เป็น ADP และ Pi เพื่อให้อยู่ในรูป high energy
2. Myosin head จับกับ Actin เป็น Crossbridge

3. ปล่อย ADP และPi ทำให้ Myosin อยู่ในรูป Low energy ดึง Thin filament เข้าสู่ส่วนกลางของ sarcomere
4. Myosin head หลุดออกจาก Crossbridge จับกับ ATP ตัวใหม่ ดังนั้นเมื่อ Myosin head hydrolyze ATP ก็จะกลับเข้าสู่รูป high energy อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่อีก 


กล้ามเนื้อในร่างกายมีการทำงานร่วมกันแบบแอนทาโกนิซึม (Antagonism) โดยกล้ามเนื้อด้านที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะงอเข้ามา เรียกว่ากล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ (Flexor) แต่กล้ามเนื้อด้านที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะเหยียดออก เรียกว่า กล้ามเนื้อเอ็กซ์เทนเซอร์ (Extensor)


หน้าที่ของกล้ามเนื้อมนุษย์

     หน้าที่ของกล้ามเนื้อมนุษย์ มีคร่าวๆ ดั่งต่อไปนี้:
         
    1. คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย (Maintain Body Posture) 

2. ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints) 

3. ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement) กล้ามเนื้อทำให้ให้เราเคลื่อนไหวในส่วนที่ต้องการได้ กิจกรรมทุกอย่างที่เราทำอยู่ทุก ๆ วันนี้เกิดขึ้นได้เพราะร่างกายเราสามารถเปลี่ยนเอาพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล (Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว

    4. รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย (Maintain Body Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการคงรูปร่างท่าทางของร่างกาย (Maintain Body Posture) 



       ที่มา: http://www.human-anatomy.com/human-anatomy/images/sh380-human_muscle_joint_sets.jpg

ชนิดของกล้ามเนื้อ

     ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle) กล้ามเนื้อเรียบ  (smooth muscle) และ กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)



เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ  กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ 


1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle) 


ที่มา: http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/721-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD+(Muscular+system)?groupid=181

     กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับกระดูกหรือโครงกระดูก ประกอบขึ้นเป็นอวัยวะต่าง ๆ เช่น แขน, ขา และทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรงซึ่งทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย, มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส นอกจากนี้การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก

2. กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)




กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้มเนื้อที่มีลักษณะเรียบไม่มีลายพาด ประกอบขึ้นเป็นอวัยวะภายในของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อที่หลอดลมปอด กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น โดยกล้ามเนื้อเรียบทำงานนอกอำนาจจิตใจ กล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ และคุณสมบัติทางสรีรวิทยาแตกต่างกันเองมาก ไม่เป็นรูปแบบเดียวกันดังเช่นกล้ามเนื้อลาย ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะอธิบายสรีรวิทยาของกล้ามเนื้อเรียบแบบเดียวที่จะถือเป็นตัวแทนของกล้ามเนื้อเรียบทั้งหมด
กล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะทั่วไปทางสรีรวิทยาที่เหมือนกัน 3 ประการ คือ
           (1) สามารถหดตัวได้นาน และใช้พลังงานน้อย
           (2) มีประสาทยนต์ (motor nerve) ที่มาเลี้ยงจากระบบประสาทอัตบาล (autonomic nervous system)
           (3) มีความตึงตัวภายในกล้ามเนื้อ




3. กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)




 
ที่มา: http://www.slideshare.net/1choose1/structure-of-cardiac-muscle-excitation-contraction-coupling-properties-of-cardiac-muscle

             กล้ามเนื้อหัวใจมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกมีลายชัดเจนคล้ายกับกล้ามเนื้อลาย แต่มีขนาดสั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อลายและตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนงเพื่อเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง กล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจคล้ายกับกล้ามเนื้อเรียบ แต่มีลักษณะพิเศษคือสามารถทำงานได้เอง (automaticity) และทำเป็นจังหวะสม่ำเสมอได้ (rhythmicity)